Vacuum Assisted Breast Vacuum Assisted Breast

เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)

ก้อนเนื้อเต้านม มีทั้งชนิดดีและชนิดร้าย โดยทั่วไปเราสามารถสังเกตตนเองได้ง่ายด้วยการคลำเต้านมด้วยตนเอง 

หากเจอก้อนหรือของแข็งกลิ้งในเนื้อเต้านม แม้ว่าก้อนเนื้อดังกล่าวอาจไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บก็อย่าชะล่าใจ ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่มักปล่อยไว้และไม่ไปพบแพทย์เพราะกลัวการผ่าตัด จนทำให้ก้อนเนื้อขยายใหญ่และลุกลามจนอาการรุนแรงขึ้น บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อเต้านมที่ช่วยให้แผลเล็ก ฟื้นตัวไว ด้วยระบบสูญญากาศ Vacuum Assisted Breast Excision กัน

VAE (Vacuum Assisted Excision) คืออะไร ?

คือ การเจาะดูดก้อนเนื้อที่บริเวณเต้านมระบบสูญญากาศ ด้วยเข็มชนิดดูดกลับอัตโนมัติ 360 องศา ภายใต้เครื่อง Ultrasound โดยใช้เพียงยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ เข็มจะทำหน้าที่ในการตัด และดูดก้อนเนื้อออกมาจนหมดทั้งก้อน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเต้านม 

ข้อดีและประสิทธิภาพการรักษาด้วย VAE 

  • ทดแทนการผ่าตัดก้อนที่เต้านม ขนาดแผลประมาณ 5-7 มิลลิเมตร
  • ผู้ที่มีก้อนเนื้อเต้านมชนิดดี
  • ผู้ที่มีก้อนที่เต้านมหลายก้อน ซึ่งขนาดของก้อนควรมีขนาดไม่เกิน 2-3 เซนติเมตร
  • สามารถนำก้อนเนื้อออกมาทำการตรวจวินิจฉัยได้ทั้งก้อน
  • สามารถทำควบคู่กับการวางคลิปลวดทางการแพทย์บริเวณตำแหน่งของก้อนเนื้อที่ทำการดูดออก ในกรณีที่ก้อนสงสัยผิดปกติ เพื่อสามารถทำการผ่าตัดต่อในตำแหน่งเดิมหากผลการตรวจชิ้นเนื้อกลับมาผิดปกติ
  • ใช้ทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็กได้ (Core Needle Biopsy) โดยที่ได้ปริมาณชิ้นเนื้อที่มากกว่า
  • ลดความเสี่ยงจากการดมยาสลบ
  • ฟื้นตัวเร็ว ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย

การรักษาด้วยการเจาะดูดก้อนเนื้อที่บริเวณเต้านมระบบสูญญากาศ อาจะมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

อาการปวดบริเวณที่ทำการเจาะเต้านม และการฟกช้ำหรือมีห้อเลือดบริเวณเต้านมที่ทำหัตถการ ทั้งนี้อาการดังกล่าวสามารถหายได้เองประมาณ 1 – 2 สัปดาห์

ด้วยเทคโนโลยีการกำจัดก้อนเนื้อที่พัฒนาความก้าวหน้าในการรักษาทางการแพทย์ จึงทำให้การรักษาก้อนเนื้อในปัจจุบัน

มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใหญ่ ลดการบาดเจ็บ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิควรหมั่นตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ทุกเดือน และในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรได้รับตรวจ mammogram และ ultrasound เต้านมร่วมด้วยปีละครั้ง หากพบความผิดปกติสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงการตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาต่อไป

บทความโดย

แพทย์หญิงตรีทิพย์ เกิดสินธ์ชัย (แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมเต้านมและเสริมสร้างเต้านม)

ศูนย์รักษ์เต้านม WMC โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล 

โทร 02-836-9999 กด 4 หรือ *2621-3