THEOS 2 satellite getting ready in Airbus cleanroom highres CopyrightAirbus THEOS 2 satellite getting ready in Airbus cleanroom highres CopyrightAirbus

ดาวเทียมธีออส-2 ที่แอร์บัสผลิตให้กับไทย ส่งขึ้นวงโคจรเรียบร้อยแล้ว


ดาวเทียมธีออส-2 (THEOS-2) เป็นอีก 1 ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกที่ผลิตขึ้นโดยแอร์บัสถูกปล่อยขึ้นไปกับจรวดนำส่งเวก้า (Vega) ที่เมืองคูรู (Kourou) ในจังหวัดเฟรนช์เกียนา (French Guiana) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยโครงการนี้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) ได้เลือกแอร์บัสเป็นพันธมิตรในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แห่งชาติรุ่นใหม่เมื่อปี 2561

นายฌอง-มาร์ค นาซร์ (Jean-Marc Nasr) หัวหน้าฝ่ายระบบอวกาศของแอร์บัสกล่าวว่า “ความสำเร็จในการปล่อย THEOS-2 ดาวเทียมถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอกย้ำว่าประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มประเทศเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงยุทธภูมิยุทธศาสตร์แบบความละเอียดสูงได้ เราจะยังคงเดินหน้าสนับสนุนความมุ่งมั่นของ GISTDA ในการพัฒนาระบบข้อมูลรอบด้านทางภูมิศาสตร์ที่จะมอบผลประโยชน์ให้แก่อาณาจักรไทยได้”

ดาวเทียมธีออส-2

THEOS-2 เป็นดาวเทียมที่ดำเนินตามแบบดาวเทียม THEOS-1 ที่แอร์บัสสร้างขึ้นและปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในปี 2551 ที่ยังสามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายได้อย่างคมชัดแม้อายุการใช้งานจะผ่านมากว่า 10 ปี ภายใต้กรอบการทำงานของโครงการ THEOS-2 นี้ ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของ GISTDA จะได้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียมที่กลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกที่ถ่ายภาพแบบออฟติคคอล (Optical) และเรดาร์ (Radar) เช่น เปลยาด (Pléiades) และ เทอร์ร่าซาร์-เอ็กซ์ (TerraSAR-X)

สัญญาดังกล่าวยังครอบคลุมดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกดวงที่สองอย่าง THEOS-2 SmallSAT จาก บริษัท Surrey Satellite Technology (SSTL) รวมกับโครงการพัฒนาขีดความสามารถของวิศวกรชาวไทยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน และตัวยานอวกาศ SmallSAT เอง ดาวเทียม THEOS-2 SmallSAT ได้ถูกพัฒนามาจากยานอวกาศสำรวจโลกซีรีส์ CARBONITE ของ SSTL และถูกส่งมายังประเทศไทย

นอกจากนี้ SSTL ยังได้นำเสนอโปรแกรมฝึกอบรมสำหรับ GISTDA เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับวิศวกรชาวไทยให้สามารถออกแบบ ผลิต บูรณาการ และทดสอบดาวเทียมขนาดเล็กที่คล้ายกันในประเทศไทยได้ในอนาคต

รูปภาพที่ได้จากดาวเทียม THEOS-2 จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับระบบการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกของประเทศไทยของ GISTDA ในอนาคต ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่การจัดการทางสังคมและความมั่นคง การจัดการเมืองและระเบียงเศรษฐกิจ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ การบริหารทรัพยากรน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การบริหารด้านการเกษตร เป็นต้น