02 KAIXIN 02 KAIXIN

“เปิดอินไซต์เจ้าของแบรนด์อาหารไทยสำเร็จรูปไทย กับการเดินทางสู่การเป็นอาหารโลก”

ช่วงเวลาแห่งความผันผวนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ ผู้บริโภคในระดับสากลเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต ลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน ปรุงอาหารเพื่อรับประทานเองมากขึ้น นิยมสินค้าที่เป็นของแท้ หรือ มีความดั้งเดิม Authenticity หรือมีความเป็นท้องถิ่น Local ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์ด้านตลาดระหว่างประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและแบรนด์สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ได้จัด โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปสู่ตลาดโลก หรือ THAI SELECT APPRENTICES PROGRAM: T-SAPP เป็นปีที่ 2 และมีตัวอย่างผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่น่าสนใจซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ และได้พัฒนารูปแบบความคิด ปรับกลยุทธ์ หรือเปลี่ยนมุมมองใหม่ ๆ ในการเจาะตลาดต่างประเทศ 

03 KAIXIN

 “ไคซิน” อาหารเจวีแกนตำรับไทยปักหมุดขยายความอร่อยสู่ต่างชาติ

01 ประวิทย์ ชัยสิริสัมพันธ์ KAIXIN

ประวิทย์ ชัยสิริสัมพันธ์ เจ้าของแบรนด์ไคซิน (KAIXIN) เล่าว่า ไคซิน เป็นแบรนด์ที่มาจากร้านไคซินไช่ ที่ขายอาหารเจมังสวิรัติ ซึ่งเปิดมาแล้ว 8 ปี แต่ด้วยเมื่อโควิด-19 ระบาด ส่งผลให้ร้านเริ่มมียอดขายที่น้อยลงเห็นได้ชัด ทำให้ปีที่ผ่านมาตัดสินใจทำแบรนด์สินค้า และมองว่าการมีสินค้าอาหารเจวีแกนสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายจะช่วยให้เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้ด้วย ซึ่งเริ่มแรกกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่รับประทานอาหารเจทั่วไป แต่เป้าหมายการทำแบรนด์ไคซินนั้นต้องการให้ทุกคนที่รักสุขภาพสามารถรับประทานอาหารเจวีแกนในแบบที่ได้ทั้งสุขภาพและได้รสชาติอร่อย จึงเลือกเมนูเด็ดในร้านที่ขายดี อาทิ ข้าวแรมฟืน แค๊บหมูเจ ผลิตออกมาวางขายในร้านและมีส่งเดลิเวอรี่ด้วย

หากถามว่าต้องการไปตลาดต่างประเทศหรือไม่ ? ในช่วงก่อนเข้าร่วมโครงการต้องยอมรับว่ามองแบรนด์ไคซินไว้แค่การวางจำหน่ายในไทย แต่หลังจากเข้าร่วมอบรม T-SAPP แล้ว ทำให้รู้ว่าลูกค้าของแบรนด์แท้จริงแล้วเป็นใครบ้าง จะต้องทำการตลาดอย่างไรให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าในวงที่กว้างขึ้น ค้นพบแนวทางการพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพเพื่อสอดรับกับมาตรฐานของตลาดโลก 

“เราอยากไปตลาดต่างประเทศ แต่เราแค่ยังขาดประสบการณ์และความรู้ในการสร้างแบรนด์อาหารไทยในรูปแบบเจวีแกน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ตัวเองเข้ามาอบรมในโครงการ T-SAPP นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำ Branding สำหรับไคซิน กูรูทุกท่านที่เข้ามาให้คำแนะนำในโครงการนี้ได้ให้ความรู้ที่เป็นคัมภีร์หลักในการทำแบรนด์ที่สามารถหยิบมาอ่านได้ตลอด” 

05 Zalid

“ปลาสลิด พอดีคำ” เปลี่ยนมุมคิดวิธีกินปลาสลิดทอดกรอบไปตลอดกาล” 

04 ปฤษณา วิมลศิริ Zalid

ปฤษณา วิมลศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปลาสลิดพอดีคำ จำกัด เจ้าของแบรนด์ปลาสลิด พอดีคำ (Zalid Por Dee Kum) เล่าว่า แบรนด์เริ่มต้นจากความรักของตัวเองที่มีต่อลูก อยากให้ลูกได้กินปลาสลิดที่อร่อย และเป็นของขึ้นชื่อของชาวบางปะกงหรือบ้านเกิด จึงหาวิธีให้ลูกได้กินปลาสลิดที่กินง่าย สะดวก และไม่ต้องกังวลเรื่องก้างติดคอ จึงแล่เอาก้างออกเหลือแต่เนื้อล้วนๆ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ปลาสลิด 1 ชิ้น ต่อข้าว 1 คำ จึงเป็นที่มาของชื่อแบรนด์ ปลาสลิด พอดีคำ โดยมีความคิดว่าทุกผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ มีความแตกต่าง เน้นความสะดวก พร้อมรับประทานให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบจากในท้องถิ่นที่มีคุณภาพ มาพัฒนา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปลาสลิดรูปแบบใหม่ จากความร่วมมือของผู้สูงอายุในชุมชน หรือพูดได้ว่าจากวัตถุดิบในท้องถิ่นสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานสากล ปลาสลิด พอดีคำ จึงเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ของการรับประทานปลาสลิดทอด อบแห้ง ที่ สะดวกสบาย กินง่าย พร้อมรับประทาน เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนที่รักชอบปลาสลิด  

06 Zalid

โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีลูกค้าซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียรับประทานผลิตภัณฑ์ปลาสลิดพอดีคำและชื่นชอบ จึงสั่งสินค้าเพื่อนำไปจำหน่าย ทำให้แบรนด์มองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจเข้าร่วมอบรมกับ T-SAPP และหลังจากที่ได้เข้าร่วมอบรมทำให้แบรนด์ปลาสลิดพอดีคำมีความชัดเจนในเรื่องทิศทางการทำตลาดมากขึ้น 

“โครงการ T-SAPP ช่วยให้แบรนด์โมเดลของปลาสลิดพอดีคำชัดเจนขึ้น เข้าใจคุณค่าของผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด การออกแบบแพคเกจจิ้งที่เหมาะสมกับแบรนด์ และหลังจากจบโครงการปลาสลิดพอดีคำก็จะได้ยื่นสมัครขอรับตรา Thai SELECT ต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าการได้ตราสัญลักษณ์ THAI SELECT เป็นการช่วยการันตีถึงคุณภาพของอาหารไทยสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน”

08 TEPA

‘เทพา’ นำพาเครื่องเทศคุณภาพสูงหัวใจหลักอาหารไทยสู่ตลาดโลก

07 ภัณฑิลา เทพาคำ TEPA

จากจุดเริ่มต้นของสามเกลอเสมอใจ ชื่อเรียกสินค้าที่ติดหูกันในโลกออนไลน์ทำให้ ภัณฑิลา เทพาคำ เจ้าของแบรนด์เทพา (TEPA) ต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่รูปแบบอื่น ๆ โดยได้เล่าว่า ก่อนหน้านี้แบรนด์เทพามีลูกค้าเป็นกลุ่มแม่บ้านที่ทำอาหารรับประทานด้วยตัวเอง หลังจากมีโควิด-19 ระบาดต่อเนื่องทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาประกอบอาหารเอง ดังนั้นเครื่องปรุงสำเร็จรูปจึงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ทำให้ยอดขายในช่วงนั้นเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด การเข้าอบรมในโครงการ T-SAPP จึงเป็นอีกส่วนสำคัญในการเรียนรู้เพื่อต่อยอดเครื่องปรุงตำรับไทยในแบบสำเร็จรูปออกไปสู่ตลาดโลก จากประสบการณ์การเข้าร่วมในปีแรกแบรนด์เทพาได้เรียนรู้หลายอย่างในสิ่งใหม่ที่คิดไม่ถึง เมื่อมาถึงปีที่ 2 แบรนด์มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากเรียนรู้และพัฒนาในส่วนใดเพิ่มเติม ทำให้เปลี่ยนความคิดจากเพียงแค่ไปฝากขายในร้านค้าในต่างประเทศ เป็นการโฟกัสการวางแผนขยายตลาดให้ลึกมากขึ้น และพิจารณาถึงการสร้างตัวแทนจำหน่ายที่ชัดเจนเพื่อให้แบรนด์เติบโตได้ในระยะยาว 

09 TEPA

“สำหรับสิ่งที่ได้รับในการเข้าอบรมนั้นเกินกว่าสิ่งที่คาดหวังอย่างมาก ทุกท่านที่เป็นกูรูด้านการทำตลาดแนะนำและชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่แบรนด์จะต้องเดินในก้าวต่อไปอย่างไร หยิบยกขึ้นมาอธิบายให้เห็นความเป็นไปได้ชัดเจนขึ้น ทำให้เปลี่ยนวิธีคิดว่าจะเดินบนเส้นทางธุรกิจนี้อย่างไร เมื่อคิดแล้วก็ต้องทำออกมาเป็น Action Plan ทันที”

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปสู่ตลาดโลก หรือ THAI SELECT APPRENTICES PROGRAM: T-SAPP สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามการเข้าร่วมในปีต่อไปได้ทาง www.ditp.go.th และ www.thaiselect.com