1พลังโพรไบโอติก 1พลังโพรไบโอติก

พลังของโพรไบโอติก กับสุขภาพทางเดินอาหารและด้านอื่นที่หลายคนยังไม่รู้


ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของเอเชีย โพรไบโอติกเป็นที่รู้จักกันในฐานะจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ซึ่งคาดว่าตลาดโพรไบโอติกจะเติบโตขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเป็นผลมาจากความสนใจด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้คนที่เพิ่มขึ้น อ้างอิงจากผลการศึกษาใน    ปี 2564 ของ Lynch และคณะ พบว่า จำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคนิยมใช้โพรไบโอติกเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพและเพื่ออายุที่ยืนยาว ส่วนอีก 45% เชื่อว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยให้ระบบทางเดินอาหารมีสุขภาพ  ที่ดี โดย Alex Teo ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนากิจการวิทยาศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก       ของเฮอร์บาไลฟ์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโพรไบโอติกและประโยชน์ที่น่ารู้ไว้ดังนี้

โพรไบโอติกคืออะไร?

2พลังโพรไบโอติก

โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ “ดี” ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการเข้ามาช่วยสร้างสมดุลให้ลำไส้ เนื่องจากในลำไส้คนเราประกอบไปด้วยแบคทีเรีย เชื้อราและจุลินทรีย์อื่นๆ หลายล้านชนิด ทำให้บางครั้งการกินอาหารหรือยาบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในลำไส้จนเกิดเป็นปัญหาตามมาได้ ดังนั้น โพรไบโอติกจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของโพรไบโอติก

3พลังโพรไบโอติก

บทบาทที่สำคัญของโพรไบโอติกสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในวันทางเดินอาหารโลก 2023 (World Digestive Health Day) เมื่อองค์การระบบทางเดินอาหารโลก (WGO) ได้เลือกพูดถึงหัวข้อ “สุขภาพทางเดินอาหารดี เริ่มต้นที่ลำไส้ดี”

แม้ว่าประโยชน์ของโพรไบโอติกที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารจะถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง แต่ประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของโพรไบโอติกก็ยังคงถูกค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น

•    ระบบภูมิคุ้มกัน: จากการสำรวจลำดับความสำคัญด้านสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก (APAC Health Priority) ประจำปี 2023 ของเฮอร์บาไลฟ์ ระบุว่า หนึ่งในเป้าหมายด้านสุขภาพยอดนิยมของผู้บริโภคคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าระบบย่อยอาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันถึง  70-80% นอกจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในทางเดินอาหารจะช่วยในการย่อยอาหารแล้ว ยังต่อสู้กับแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน เพราะหากลำไส้ไม่สมดุลและระดับแบคทีเรียไม่ดีเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งโพรไบโอติกสามารถช่วยคืนความสมดุลและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้

•    สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด: โพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) อาจเกิดจากความไม่สมดุลในลำไส้ ซึ่งโพรไบโอติก สามารถลดไขมันเลว (LDL-C) และเพิ่มสัดส่วนของไขมันดี (HDL-C) รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิต ลดสารชักนำการอักเสบ (Inflammatory mediator) ระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกาย

•    สภาพอารมณ์โดยรวม: ลำไส้ของคนเรามักถูกเรียกว่าเป็นสมองที่สอง เพราะสมองและระบบทางเดินอาหารมีความเชื่อมโยงกัน เช่น เมื่อเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวลขึ้น ท้องไส้จะรู้สึกปั่นป่วน โดยผลการวิจัยล่าสุดพบว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่แบคทีเรียในลำไส้จะส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมของเรา 

•     การป้องกันโรค: โพรไบโอติกมีผลในการรักษาสภาวะหลายอย่าง เช่น อาการจุกเสียดในทารก การป้องกันโรคลำไส้อักเสบแบบเนื้อตายและภาวะติดเชื้อในทารกที่คลอดก่อนกำหนด การรักษาโรคปริทันต์ และบรรเทาอาการของโรคลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีก เนื่องจากประสิทธิภาพของโพรไบโอติกอาจมีความจำเพาะต่อโรคได้

•     การป้องกันมะเร็ง: โพรไบโอติกมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (CRC) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโพรไบโอติกมีส่วนช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้สามารถฟื้นฟูกลับมาสู่สภาวะสมดุลได้ รวมทั้งยังสามารถตรวจจับและลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งและปัจจัยที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบภูมิคุ้มกัน

วิธีสร้างการเจริญเติบโตให้แบคทีเรียชนิดดี

4พลังโพรไบโอติก

•     กินให้เหมาะ: สุขภาพของลำไส้นั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลของจุลินทรีย์ต่างๆ ดังนั้น การกินอาหารที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ผลไม้ ผักและธัญพืชที่มีเส้นใยสูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้

•     อาหารหมักดอง: อาหารเอเชียส่วนใหญ่มักมีอาหารหมักดองที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียที่เป็นมิตรกับลำไส้  เช่น ผักกาดดอง กิมจิ มิโซะ โยเกิร์ตและคอมบูชา ซึ่งการกินอาหารหมักดองเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้มีแบคทีเรียดีในลำไส้เพิ่มขึ้น

•     ออกกำลังกายเป็นประจำ: การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยป้องกันปัญหาทางเดินอาหาร และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารเคลื่อนไหวได้ดี ส่งผลให้อาหารซึมผ่านได้เร็วขึ้น 

อาหารสมัยใหม่ไม่ได้มีโพรไบโอติกสูงตามธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อเป็นการชดเชย มนุษย์จึงคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการเพิ่มโพรไบโอติกเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารให้มากขึ้น ทำให้อาหารที่มีโพรไบโอติกและอาหารเสริมโพรไบโอติกเป็นที่นิยมมาแรง อย่างไรก็ตาม ควรกินอาหารเสริมในปริมาณที่พอดีตามที่ระบุฉลากบนผลิตภัณฑ์ และหากมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ก่อนตัดสินใจกินอาหารเสริม