Improving Employee Well being in a Hybrid Work Environment 11

การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในการทำงานแบบไฮบริด


สตีเฟน คอนชี

โดย สตีเฟน คอนชี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น 

Improving Employee Well being in a Hybrid Work Environment 10
Colleagues giving a fist bump

สถานการณ์แพร่ระบาดได้เพิ่มแนวโน้มการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) มากขึ้น ซึ่งรูปแบบการทำงานสามารถทำงานในสำนักงานหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับตารางงานของพนักงาน ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ นายจ้างจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสวัสดิการของพนักงานมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องปรับเปลี่ยนชีวิตการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ในยุคใหม่

Improving Employee Well being in a Hybrid Work Environment 12

นอกเหนือจากการช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว การให้สวัสดิการที่ดีของพนักงานเป็นอันดับแรก ยังช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานให้พวกเขาสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและวิกฤตการณ์โรคระบาดที่อาจจะทวีความรุนแรงได้

Improving Employee Well being in a Hybrid Work Environment 9

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สตีเฟน คอนชี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้ทำการทดสอบและเรียนรู้จากแนวคิดการทำงานนอกสถานที่รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาปรับใช้กับตลาดเอเชียแปซิฟิกเพื่อปรับตัวสู่รูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน และจากประสบการณ์เหล่านี้ เราจึงได้รวบรวมเป็นเคล็ดลับสำคัญ ดังนี้ 

การให้ความสำคัญกับการเข้าสังคมในที่ทำงาน

Improving Employee Well being in a Hybrid Work Environment 1

บริษัทเป็นมากกว่าธุรกิจ เพราะบริษัทถือว่าเป็นกลุ่มสังคมในที่ทำงาน อย่างไรก็ตามการทำงานแบบผสมผสานและทำงานแบบนอกสถานที่ อาจทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับเหล่านายจ้างในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มพนักงาน

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานนี้ บริษัทสามารถออกแบบพื้นที่สำนักงานใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกันและพื้นที่ในการสร้างสังคมของพนักงาน ให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการสร้างเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ

สตีเฟน คอนชี แนะนำว่า ผู้นำธุรกิจและเหล่าผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลควรออกแบบโปรแกรมที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างแผนกและภายในแผนก เช่น การจัดแข่งขันฟิตเนสเพื่อสุขภาพ หรือกิจกรรมกลุ่มที่สร้างปฏิสัมพันธ์และความผูกพันที่ดีขึ้นในสังคมที่ทำงาน และควรสร้างช่องทางใหม่ ๆ ให้พนักงานสามารถเข้าถึงงานและสนับสนุนในด้านการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเอง ซึ่งจะช่วยให้พนักงานรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมในเส้นทางอาชีพร่วมกับบริษัทด้วย

การเพิ่มการสนับสนุนด้านโภชนาการและสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสวัสดิการของพนักงาน

วิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ ทำให้ต้องบริษัทเน้นเรื่องสวัสดิการความเป็นอยู่ของพนักงานตลอดจนสุขภาพร่างกายและจิตใจ ตามรายงานแนวโน้มประสบการณ์พนักงานปี 2565 ของ Qualtrics ได้กล่าวว่า ระดับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในประเทศสำคัญ ๆ ของ APAC ลดต่ำที่สุดถึง 65% อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง ซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันมีพนักงานจำนวนมากเริ่มตัดสินใจในการเลือกอาชีพที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาวด้วย 

เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ บริษัทสามารถเพิ่มสวัสดิการดูแลด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แก่พนักงาน รวมถึงการให้เงินสนับสนุนสำหรับการเป็นสมาชิกฟิตเนส การจัดกลุ่มออกกำลังกายและการพูดคุยเรื่องสุขภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก โปรแกรมช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตรวมถึงการให้คำปรึกษาเฉพาะเพื่อช่วยให้พนักงานรับมือกับปัญหาส่วนตัวและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากสวัสดิการส่งเสริมด้านสุขภาพแล้วนั้น บริษัทต่าง ๆ  ควรคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการทำงานและสถานที่ทำงานของพนักงานให้มากขึ้นด้วย ในฐานะทีมผู้บริหาร เราสนับสนุนให้ผู้นำของเรารับฟังความคิดเห็นของพนักงาน จากนั้นจึงพัฒนาแนวทางของบริษัทเพื่อสร้างสมดุลเพื่อให้เกิดการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับพนักงานกับความต้องการของธุรกิจ

การฝึกฝนพฤติกรรมการกินที่ดี

หน้าที่ในการดูแลสวัสดิการของพนักงานไม่ควรตกอยู่กับนายจ้างเพียงลำพัง โดยพนักงานควรมีวิธีการเพื่อดูแลรักษาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และเนื่องจากการทำงานหนักตารางงานที่แน่น ทำให้หลายคนเลือกที่จะทานอาหารแบบเร่งด่วนซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ หรือข้ามมื้ออาหารไป ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราเช่นเดียวกัน

จากแหล่งข้อมูลได้รับการพิสูจน์แล้วว่า โภชนาการที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ จากในบทความของ Harvard Health Publishing แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าลดลง 25% ถึง 35% ในกลุ่มผู้ที่รับประทานอาหารที่ครบสัดส่วนซึ่งประกอบด้วยผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่แปรรูป และโปรตีน จากการสำรวจความเฉื่อยด้านสุขภาพของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เอเชียแปซิฟิก 2564 พบว่า 1 ใน 2 ของคนไทยที่มีสุขภาพแข็งแรง ระบุว่าตนรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส

อาหารจึงเป็นแหล่งให้พลังงานที่จำเป็นมากต่อร่างกาย ดังนั้น พนักงานทุกคนควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบตามที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่ว่าจะที่สำนักงานหรือที่บ้านก็ตาม เพราะโภชนาการที่สมดุลจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นพร้อมต่อการทำงาน หากการเตรียมหรือซื้ออาหารกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก พวกเขาสามารถเลือกบริโภคโปรตีนเชคเพื่อตอบสนองความต้องการตามหลักโภชนาการในแต่ละวันได้

การจัดสรรเวลาสำหรับกิจกรรมที่จะพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจ 

จากการสำรวจความเฉื่อยด้านสุขภาพของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เอเชียแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2564 พบว่าคนไทยมองว่าการออกกำลังกายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้นในช่วงที่มีวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส นอกจากนี้ 41% ของคนไทยกล่าวว่าการมีเวลาและพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น   

อีกทั้งเพื่อดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้สัมพันธ์กัน พนักงานควรจัดสรรเวลาไม่ว่าจะเป็นรายวันหรือ 2-3ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่จะช่วยบรรเทาความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น  รวมถึงหากิจกรรมที่สร้างสรรค์หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำ รวมไปถึงกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ การนั่งสมาธิ หรือเพียงแค่พูดคุยติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพราะการมีอารมณ์ที่ดีจะช่วยส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอีกด้วย

การทำงานแบบผสมผสานนี้ กำลังกลายเป็นวิถีใหม่ในการทำงานในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานในสถานที่ทำงานจึงควรจัดให้เป็นความสำคัญหลักอันดับต้นๆ ซึ่งต้องใช้ความพยายามร่วมกันจากทั้งนายจ้างและพนักงาน สตีเฟน คอนชี กล่าวสรุปทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น สามารถสอบถามหรือสั่งซื้อได้จากผู้จำหน่ายอิสระเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่นทั่วประเทศ หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.herbalife.co.th หรือโทร. 02 660 1600