ผู้ให้บริการธุรกิจสินเชื่อแบบดิจิทัลตอกย้ำเทรนด์ในการพลิกโฉมธุรกิจ SME ไทยในปี 2566 เพื่อเปิดโอกาสการเติบโตให้แก่นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญและธุรกิจในไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย (16 กุมภาพันธ์ 2566) – Funding Societies แพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยเทรนด์สินเชื่อยอดนิยมสำหรับปี 2566 ซึ่งเป็นการนำเสนอโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อช่วยสร้างเสริมและต่อยอดศักยภาพอันแข็งแกร่งสำหรับธุรกิจ SME ของประเทศไทย
โดยเทรนด์สินเชื่อนี้เกิดจากแนวโน้มทางธุรกิจของ SME ที่เริ่มฟื้นตัวในเชิงบวกนับแต่ช่วงต้นปี 2565 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – กันยายน) รายได้จากธุรกิจ SME ประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.54 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.2 ของค่า GDP รวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากปีก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ คาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังสามารถเติบโตต่อไปได้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว โดยคาดว่า GDP จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในปี 2566 นี้
ตั้งแต่ปี 2558 ที่ Funding Societies ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสำหรับธุรกิจ SME ได้ก่อตั้งขึ้น ทางบริษัทฯ ได้ทำการให้สินเชื่อไปแล้วกว่า 98,000 ล้านบาททั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้เล็งเห็นถึงประเด็นศึกษาที่มีความสำคัญในภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย รวมถึงมองเห็นโอกาสในการ กระจายเงินทุนสำหรับ SME และโอกาสการลงทุนสำหรับนักลงทุน โดยสามารถจำแนกออกมาเป็นเทรนด์ธุรกิจ SME ที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงปี 2566 ได้ดังต่อไปนี้:
- มุมมองของธุรกิจ SME ในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยปกตินั้นธุรกิจจะถูกส่งต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ไปสู่รุ่นลูกหลานในหลากหลายอุตสาหกรรม
- ในขณะที่คนรุ่นมิลเลนเนียลและคนเจนเนอเรชั่น Z เริ่มก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำและจะรับช่วงต่อจากพ่อแม่ในอนาคตอันใกล้ พวกเขามีมุมมองที่แตกต่างออกไปในการใช้ประโยชน์จากเงินกู้ เพื่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจของบริษัท
- คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงทางเลือกในการระดมเงินทุน และประโยชน์ของการกู้เงินเพื่อมาลงทุนมากขึ้น โดยคนรุ่นใหม่ไม่ได้มีแนวความคิดที่ว่าการกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจนั้นเป็นเรื่องต้องห้ามอีกต่อไป
- การระดมทุนแบบหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หรือการระดมทุนในรูปแบบการออกหุ้นกู้ เป็นทางเลือกใหม่ในการหาเงินทุนของ SME โดยเป็นการเชื่อมธุรกิจ SME ที่ต้องการระดมเงินทุนเข้ากับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่มั่นคง ซึ่งเจ้าของธุรกิจยังคงสามารถรักษาสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทของตนเอาไว้ได้ ในทางกลับกันสำหรับกลุ่มนักลงทุนเอง การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิงยังช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน อีกทั้งยังสามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนธุรกิจในประเทศอีกด้วย
- ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีความผันผวนและมีการชะลอตัวอยู่ตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่ช่องว่างที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการระดมทุนของธุรกิจประเภท SME ดังนั้นแพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลอย่าง Funding Societies จึงถือเป็นอีกทางเลือกสำคัญที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจ SME เข้าถึงเงินทุนได้ โดย Funding Societies ได้ขยายฐานการให้บริการ และมีความพร้อมในการสนับสนุน SME ที่ต้องการความช่วยเหลือให้เติบโตต่อไป
- ซึ่งรวมถึงธุรกิจ SME ทุกประเภทและทุกขนาด ที่สามารถเข้าถึงสินเชื่อกับธนาคารและสถาบันการเงิน (Banked) และที่อาจยังมีคุณสมบัติไม่เพียงพอในบางประการ (Underbanked) – ตั้งแต่ผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงผู้รับเหมาภาคเอกชนและรัฐบาล รวมถึงภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตต่าง ๆ ล้วนได้รับประโยชน์และจะยังคงได้รับประโยชน์จากการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง
- กระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทยได้ระบุ 3 กลุ่มธุรกิจ SME ที่มีแนวโน้มเชิงบวกในปีนี้ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจ MICE (การจัดการประชุม การจัดการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลให้กับพนักงานหรือบุคลากร งานสัมมนา และงานนิทรรศการ) และธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดย SME จากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้สามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากรูปแบบการจัดหาเงินทุนที่ไม่ต้องใช้หลักประกันและได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว ผ่านรูปแบบการให้บริการจาก Funding Societies
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรูปแบบใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทั่วโลก โดยทางเลือกเพื่อธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลอย่าง Funding Societies ได้ช่วยเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมในการปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างสิ้นเชิง ด้วยการใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย รวดเร็ว และชาญฉลาด โดยในปัจจุบัน Funding Societies เดินหน้าให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SME ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากเทรนด์การทำธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ในปี 2566 ผ่านแพลตฟอร์มการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง ซึ่งเชื่อมโยงธุรกิจที่แสวงหาเงินทุนโดยตรงเข้ากับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง ซึ่ง Funding Societies นับเป็นหนึ่งในบริษัท FinTech แห่งแรก ๆ ที่ได้รับใบอนุญาตหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
นาย ชัชกร พฤกษานานนท์ ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Funding Societies ประเทศไทย กล่าวว่า “Funding Societies เข้าใจถึงบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือธุรกิจ SME ของประเทศไทยในปี 2566 เนื่องจากธุรกิจ SME ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจไทย โดยอ้างอิงจากข้อมูลของสสว. คิดเป็นร้อยละ 99.57 ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย และมีอัตราการจ้างงานกว่า 12.6 ล้านคน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อค่า GDP ทั้งหมดของประเทศ”1
“ธุรกิจ SME จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและสถาบันการเงินต่าง ๆ เริ่มเข้มงวดกับกฎเกณฑ์ทางการเงินมากขึ้น Funding Societies จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ SME ในการเพิ่มเงินทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตหรือเติมเงินทุนหมุนเวียนให้กับธุรกิจ โดยเราใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูล data points ที่เราได้สร้างขึ้นมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้การจัดหาเงินทุนทางธุรกิจมีความรวดเร็วและความยืดหยุ่น โดย Funding Societies ได้นำเสนอรูปแบบทางการเงินที่มีความหลากหลาย ซึ่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองกลุ่มธุรกิจ SME ที่มีความหลากหลาย โดยไม่จำกัดและเปิดกว้างในการให้บริการตั้งแต่ผู้รับเหมาโปรเจกต์ ผู้ผลิต หรือผู้ค้าอีกด้วย”
“นอกจากนี้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงยังถือว่าได้ให้ประโยชน์ต่อสังคม เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ร่วมสนับสนุนธุรกิจ SME ในประเทศไทยโดยตรง ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยเพิ่มความหลากหลายในการลงทุน โดยหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงมีความผันผวนน้อยกว่าหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ เช่น หุ้นหรือกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีความผันผวนมากในแต่ละวัน แต่หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง นักลงทุนสามารถรับผลตอบแทนสูงสุดถึงร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับการลงทุนระยะสั้นเพียง 1 ถึง 12 เดือน พร้อมยังได้รับการชำระคืนเป็นรายเดือน และยังได้ช่วยสนับสนุน SME ในประเทศไทยที่พวกเขาอาจคุ้นเคยกับธุรกิจนั้น ๆ อยู่แล้วอีกด้วย ซึ่งเป็นการส่งผลดีต่อทุกฝ่าย” นายชัชกร พฤกษานานนท์ กล่าวเสริม
ด้วยวิธีนี้บรรดานักลงทุนจะสามารถเลือกธุรกิจ SME ที่พวกเขาต้องการให้เงินทุนได้ โดยมีระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นลงด้วย ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม FinTech ของเราได้ประกาศความสำเร็จในการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 1 พันล้านบาท และตั้งแต่นั้นมา แพลตฟอร์มของ Funding Societies ก็ได้ขยายการเข้าถึงไปยังการจัดหาเงินทุนแก่ SME ในกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
สำหรับธุรกิจ SME ไทยที่สนใจในการเข้าถึงเงินทุนสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดย คลิกที่นี่ และสำหรับนักลงทุนไทยที่สนใจสนับสนุน SME ในประเทศไทยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเริ่มต้นการลงทุน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Funding Societies สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.fundingsocieties.co.th/
เกี่ยวกับ Funding Societies
Funding Societies ซึ่งจดทะเบียนภายใต้บริษัท เอฟเอส สยาม จำกัด (“บริษัทฯ”) เป็นแพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับ SME ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเปิดตัววันที่ 9 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 นับเป็นหนึ่งในบริษัท FinTech แห่งแรก ๆ ที่ได้รับใบอนุญาตหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินกิจการในประเทศสิงคโปร์และประเทศอินโดนีเซีย (ในนาม Modalku) รวมถึงได้จดทะเบียนในประเทศมาเลเซีย และยังได้ประกอบกิจการให้บริการในประเทศเวียดนามอีกด้วย โดยบริษัทฯ เป็น FinTech ที่ให้บริการด้านเงินทุนแก่ธุรกิจตั้งแต่ขนาดย่อมไปจนถึงธุรกิจขนาดกลาง (SMEs) โดยมีการให้เงินทุนรวมอยู่ที่กว่า 97.23 พันล้านบาท (คิดเป็นมูลค่า 36.88 พันล้านบาทต่อปี) ในการระดมทุน นับเป็นเหตุการณ์สําคัญเชิงกลยุทธ์ล่าสุด รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ CardUp แพลตฟอร์มการชําระเงินดิจิทัลระดับภูมิภาค (ขึ้นอยู่กับการอนุมัติด้านกฎระเบียบ) และการลงทุนร่วมในธนาคาร Index ในประเทศอินโดนีเซีย
Funding Societies ได้รับการสนับสนุนโดย SoftBank Vision Fund 2, SoftBank Ventures Asia, Sequoia Capital India, Alpha JWC Ventures, SMBC Bank, BRI Ventures, VNG Corporation, Rapyd Ventures, Endeavor, EBDI, SGInnovative, Qualgo, และ Golden Gate Ventures เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้รับรางวัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น MAS FinTech Award ในปี 2559, รางวัล Global SME Excellence Award ที่ ITU Telecom World ขององค์การสหประชาชาติในปี 2560, KPMG Fintech 100 ในปี 2561, Brands for Good ในปี 2562 และ ASEAN Startup of the Year โดย Global Startup Awards ในปี 2563 นอกจากนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ ยังได้รับรางวัล MAS FinTech Award เป็นครั้งที่ 2 และรางวัลระดับแพลตตินัม Responsible Digital Innovator of the Year จาก Global SME Finance Awards 2022 จัดโดยบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ IFC (สถาบันการเงินในเครือของธนาคารโลก)
ข้อมูลเพิ่มเติม www.fundingsocieties.co.th