DesignWellness 2

dwp เน้นย้ำ “การออกแบบเพื่อสุขภาพ” วิวัฒนาการเพื่อสถาปัตยกรรม และการออกแบบสำหรับการใช้ชีวิตแบบองค์รวม


เคยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์ และการออกแบบที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงที่พักพิง แต่ยังมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตแบบองค์รวม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยแนวความคิดที่พัฒนาขึ้นมานี้ โดยรวมเรียกว่า การออกแบบเพื่อสุขภาพ (Design for Wellness) 

DesignWellness 1

นายโทมัส ไมเออร์ (Mr.Thomas Meier) Creative Director แห่ง dwp | design worldwide partnership บริษัทด้านสถาปัตยกรรมและผู้ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบระดับนานาชาติ มีประสบการณ์หลากหลายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ให้ความเห็นเกี่ยวกับเทรนด์การออกแบบในปัจจุบันว่า “ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้แวดวงการออกแบบเข้าสู่ยุคใหม่ มีการเน้นย้ำถึง การใคร่ครวญและตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติมากขึ้น ปัจจุบันความท้าทายในการออกแบบรวมถึงการสร้างพื้นที่ที่ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในขณะเดียวกันก็สอดคล้องไปกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมจุดมุ่งหมายได้ขยายกว้างขึ้นไปอีก จากความสุนทรีย์ในการออกแบบ ไปสู่เรื่องของประโยชน์ใช้สอย เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนในอนาคต” 

DesignWellness 4
DesignWellness 5

นายโทมัส ไมเออร์ ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “การออกแบบเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี dwp ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่แบบองค์รวม เรามุ่งเป้าไปที่สุขภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย โดยมุ่งเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี สร้างความสุขและพัฒนาคุณภาพชีวิต” รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับการออกแบบในคอนเซ็ปต์นี้ คือ “แสงธรรมชาติ” ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ช่วยสร้างความรู้สึกเชิงบวกและปรับสมดุลจังหวะภายในร่างกาย “คุณภาพอากาศ” ที่ช่วยดูแลระบบ ระบายอากาศที่ทันสมัย “พืชพันธุ์” ที่มีคุณสมบัติฟอกอากาศ มีบทบาทสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดี การคำนึงถึงสภาพอากาศเช่น การปรับอุณหภูมิและความชื้น ทั้งในร่มและกลางแจ้งให้เหมาะสม
ส่งผลโดยตรงต่อระดับความสะดวกสบาย ตามธรรมชาติ โดยเราได้อ้างอิงจากการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างปัจเจกบุคคลกับสภาพแวดล้อม ที่สามารถลดความเครียดและฟื้นฟูจิตใจ  สุดท้าย “การควบคุมเสียง” ก็มีความสำคัญยิ่ง พื้นที่เงียบเท่าไร ก็ยิ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตโดยรวม เพิ่มสมาธิ ปรับสมดุลทางอารมณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น 

DesignWellness 3
DesignWellness 6

ดังนั้น การออกแบบเพื่อสุขภาพ คือ วิวัฒนาการของหลักการออกแบบสมัยใหม่ ที่ควบคู่ไปกับความยั่งยืนและ  ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติบำบัด เพื่อยกระดับผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในพื้นที่เมือง ที่การออกแบบมีผลกระทบต่อบรรยากาศอย่างมาก และส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การวางโครงสร้างเชิงกลยุทธ์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน สถาปนิกและนักออกแบบรุ่นใหม่จึงจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องปรับมุมมองของตน เพื่อร่วมมือกันกำหนดอนาคตที่สดใสและสุขภาพ    ที่ดีของคนรุ่นต่อไปในอนาคต” นายโทมัส ไมเออร์ ทิ้งท้าย